วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 บทที่ 10 การผลิตงานกราฟิก
งานพื้นฐานสำหรับการผลิตสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียนส่วนใหญ่ของประเทศไทยในขณะนี้ ได้แก่  งานกราฟิก  ส่วนประกอบของงานการฟิกที่สำคัญมี 2 อย่าง ได้แก่ ตัว อักษร และรูปภาพ  ส่วนที่เป็นรูปภาพมีหลายประเภท เช่น ภาพเหมือนจริง ภาพลายเส้น และภาพการ์ตูน ในการเรียนการสอนนิยมใช้ภาพการ์ตูนเป็นสื่อเพราะกระตุ้นความสนใจได้ดีโดยเฉพาะในวัยเด็ก

เทคนิคการเขียนภาพการ์ตูน
     เทคนิคการเขียนภาพการ์ตูนประกอบด้วยการเขียนภาพการ์ตูนลายเส้น ลายธรรมดา ภาพการ์ตูนเรื่อง และการใช้สีไม้กับการ์ตูน การเขียนภาพการ์ตูนธรรมดา   ดังที่รู้กันดีว่าภาพการ์ตูนเป็นภาพที่ผิดเพี้ยนไปจากรูปปกติธรรมดาเน้นให้เกิดอารมณ์ขบขัน  จากการบิดเบี้ยวของเส้น  สี รูปร่าง  รูปทรง  ไม่เน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติ  การฝึกเขียนการ์ตูนเบื้องต้น  สำหรับผู้ที่ยังไม่มีทักษะ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
           ความเชื่อมั่นในตนเอง ควรระลึกอยู่เสมอว่าการเขียนภาพให้บิดเบี้ยวนั่นย่อมเขียนได้ง่ายกว่าภาพที่เหมือนจริง    เพราะไม่ต้องกังวลกับความถูกต้องของส่วนต่างๆแบบภาพเหมือนจริง  ในความจริงเราอาจสามารถเขียนภาพให้บิดเบี้ยวหรือภาพแบบนามธรรมก็ได้
       วัสดุเขียน การใช้วัสดุเขียนที่ลบได้  เช่น  ปากกาลูกลื่น หรือปากกาหมึกซึม  จะช่วยให้ผู้เขียนระมัดระวังใจจดใจจ่อ  ไม่ควรใช้ดินสอกับยางลบ  เนื่องจากการลบเป็นเหตุให้ขาดความมั่นใจ
        ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเส้น  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการเขียนภาพการ์ตูนเส้นที่มีลักษณะสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะให้ความรู้สึกมั่นคง มีจุดหมายแน่นอน เขียนภาพการ์ตูนลายเส้นก็จะทำให้


รูปภาพมีความมั่นคงและชัดเจนด้วย
         ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้ การเลียนแบบเป็นการเรียนรู้ของมนุษย์อีกรูปแบบหนึ่งที่จะนำไปสู่การสั่งสมประสบการณ์ แล้วเก็บไว้เป็นพื้นฐานในการแปลความสิ่งเร้าที่จะรับรู้และเรียนรู้เรื่องใหม่ต่อไป
      การถ่ายทอดจินตนาการโดยขาดทักษะประสบการณ์อาจทำให้เกิดอึดอัดมึนงงคิดไม่ออก เมื่อเขียนภาพออกมาแล้วมักไม่ได้ภาพตามต้องการ ในที่สุดจะอ่อนล้า ท้อถอยเบื่อไม่เขียนภาพการ์ตูนอีก วิธีแก้ไขความใช้กระบวนการเรียนทางธรรมชาติ โดยการสังเกตภาพการ์ตูนแล้วลงมือเขียนตามสภาพจริงและตกแต่งตามจินตนาการ
        การ์ตูนแสดงพฤติกรรมได้ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนใบหน้า แสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้า และส่วนลำตัว แสดงอารมณ์กิริยาท่าทางต่างๆ เช่น การเดิน นอน วิ่ง กระโดด  เล่นกีฬา การฝึกเขียนการ์ตูนอาจฝึกทีละส่วนแล้วนำมาประกอบกันหรือเขียนกิริยาท่าทางให้ได้แล้วจึงเขียนอารมณ์ทางใบหน้า

งานกราฟิกเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวาดภาพและตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายและเป็นพื้นฐานการออกแบบตกแต่งสื่อประเภททัศนวัสดุทุกชนิด  ในการผลิตงานกราฟิกนอกจากคำนึงถึงองค์ประกอบศิลป์ แล้วยังต้องคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ในงานกราฟิก เช่น กระดาษ ดินสอ สี
พู่กันประกอบด้วย งานกราฟิกที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ รูปภาพและตัวอักษร รูปภาพที่ประดิษฐ์ได้ง่ายและกระตุ้นความสนใจผู้เรียนได้ดี ได้แก่ รูปภาพ การ์ตูน ซึ่งเป็นภาพเขียนที่ผิดเพี้ยนไปจากภาพปกติ เน้นให้เกดอารมณ์ขัน ผู้เขียนไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องเหมือนจริงทั้งภาพการ์ตูนและตัวอักษร